fb
หน้าแรก /
อีเว้นท์ /
สุขภาพ /
Spotlight Effect ภาวะของคนคิดไปเอง ว่ากำลังได้รับความสนใจจากคนอื่น!
สุขภาพ
Spotlight Effect ภาวะของคนคิดไปเอง ว่ากำลังได้รับความสนใจจากคนอื่น!
fav
fav
Spotlight Effect ภาวะของคนคิดไปเอง ว่ากำลังได้รับความสนใจจากคนอื่น!
เชื่อว่าในชีวิตคนเราต้องมี 1 คนในชีวิต ที่มีความวิตกกังวลแล้วชอบเล่าว่าทุกคนกำลังมองอยู่ ทั้งที่ในความเป็นจริงคือไม่มีใครสนใจเลยด้วยซ้ำ หรือบางครั้งเวลาเราทำเรื่องน่าอายในที่สาธารณะก็จะรู้สึกว่าทุกคนกำลังคิดแบบนี้กับเราเช่น ทุกคนกำลังมองเรา จนรู้สึกวิตกกังวลไปหมด ซึ่งอันนี้เรียกว่า Spotlight Effect ภาวะหลงคิดว่าตัวเองกำลังเป็นจุดสนใจเกินไป จากสายตาคนรอบข้าง


Spotlight Effect ภาวะของคนคิดไปเองว่ากำลัง “กำลังเป็นจุดสนใจ”


Spotlight Effect หรือ ภาวะหลงคิดว่าตัวเองกำลังเป็นจุดสนใจเกินไป ซึ่งภาวะนี้จะเกิดขึ้นตอนเวลาที่เรารู้สึกว่าทุกคนจับจ้องมา เช่นเวลาเราทำเรื่องที่น่าอายในที่สาธารณะ แล้วจะมีบับเบิ้ลในหัวว่า เค้าต้องหาว่าเราเป็นแบบนั้นแน่เลย เค้าต้องขำแน่เลย เพราะคนเรามักจะมีความคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาลคิดอะไรภายในหัว แล้วจะคิดว่าคนอื่นก็คิดเหมือนกับเราด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่มีใครคิดเหมือนกับเราหรอก มีเพียงตัวเราที่คิดไปเองเท่านั้น



ข้อดีของ Spotlight Effect จะผลักดันให้เราต้องปรับตัวเข้าสังคม ยิ่งเราแคร์สายตาของคนอื่นมากแค่ไหน เราจะวางตัวในสังคมให้เหมาะสม เพื่อให้เราเข้ากับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ไม่ขัดแย้งกับใครจนโดนนินทาลับหลัง


ข้อเสียของ Spotlight Effect คือเราจะเกิดความกดดันในสังคมมาก ๆ เช่นกัน แล้วเราจะต้องใช้ชีวิตแคร์สายตาคนอื่น จนไม่เป็นตัวของตัวเอง แล้วในอนาคตอาจจะเป็นโรควิตกกังวลได้ เพราะจะกลัวทำอะไรผิดพลาดในสังคมนั้นเอง


มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียในภาวะ Spotlight Effect ขึ้นอยู่กับตัวเองแล้วว่าจะใช้ชีวิตแคร์สังคมมากน้อยแค่ไหน บางทีมันก็จำเป็นเพื่อการวางตัวที่ดี แต่ถ้าเครียดเกินไปเราก็ต้องแคร์ใจตัวเองมากกว่าคนอื่นในท้ายที่สุด



สรุปแล้วภาวะ Spotlight Effect จะเกิดกับตัวเองก็ต่อเมื่อมีแอคชันในสังคม ว่าคนจะไหลเวียนไปตามความคิดเรา หรือมีแค่ตัวเราที่คิดไปเอง แต่ทั้งหมดทั้งมวลต้องอยู่ในบรรทัดฐานความเป็นจริง ถ้าเราเข้าข้างตัวเองมากเกินไปคนจะมองเราแปลก ๆ และใช้ชีวิตด้วยความกดดันจากสังคม จนกลับกลายเป็นคนคิดไปเองแบบเต็ม 100% ก็คือคิดไปไกลเข้าสังคมยากแล้ว ต้องระวังเอาไว้ด้วยนะ

.

.

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.brandcase.co/30003

https://www.unlockmen.com/understand-spotlight-effect/

https://thestandard.co/opinion-double-tap-spotlight-effect/

https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1048051

https://www.sanook.com/campus/1408619/


แท็ก
อีเว้นท์แนะนำ
แชร์ :
Logo