fb
หน้าแรก /
อีเว้นท์ /
สุขภาพ /
ชวนเช็กว่าตัวเรานี้เป็น " ซึมเศร้า " จากการทำงานอย่างหนักหรือเปล่านะ ?
สุขภาพ
ชวนเช็กว่าตัวเรานี้เป็น " ซึมเศร้า " จากการทำงานอย่างหนักหรือเปล่านะ ?
fav
fav
ชวนเช็กว่าตัวเรานี้เป็น " ซึมเศร้า " จากการทำงานอย่างหนักหรือเปล่านะ ?

ใครเคยรู้สึกเครียดกับงานจนรู้สึกเป็นซึมเป็นเศร้าบ้างยกมือขึ้น! เราคงจะปล่อยผ่านไปแล้วคิดว่าเดี๋ยวมันก็หายเครียดไปเอง แต่ว่าถ้ามันสะสมเยอะ ๆ อาจจะทำให้เราเป็น ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน มีความเสี่ยงที่จะอันตรายถึงชีวิตเลยนะ เริ่มกังวลกันนิดนึงแล้วใช่ไหมว่าเราในตอนนี้เสี่ยงเป็นหรือเปล่า วันนี้เลยจะมาชวนเช็กอาการดูกันสิว่าตรงไปแล้วกี่ข้อกันนะ


ชวนรู้จัก ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน ภัยอันตรายของชาวออฟฟิศ


ก่อนที่เราจะไปรู้จักอาการ ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน เราต้องรู้ที่มากันก่อนซึ่งมันเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่ทุกคนมองข้ามกันอย่างแน่นอนนั้นก็คือ ความเครียดสะสม เพราะเราจะเจอปัญหาหลายอย่างมาก ๆ ในหนึ่งวัน ถึงแม้ว่ามันจะแก้ไขได้ แต่ตะกอนความเครียด ความเสียใจ มันยังอยู่ พอสะสมเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นกดดันจนกลายเป็น ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน ในที่สุด


10 อาการที่บอกว่าเสี่ยงเป็น ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน

1. รู้สึกวิตกกังวลคิดเรื่องงานตลอดเวลาตั้งแต่เช้าจนถึงในฝัน มีความระแวงโทรศัพท์กลัวจะมีการติดต่องานมาตลอดเวลา

2. เบื่องานไม่มีความพอใจในงานที่ทำเลย พยายามเลี่ยงที่จะทำงานในปัจจุบัน หาทางหนีงานที่ทำอยู่เสมอ

3. รู้สึกเศร้าสิ้นหวัง ทำงานอะไรก็รู้มันไม่เห็นอนาคต รู้สึกตัวเองไร้ค่า

4. หมดพลังการตื่นเช้าไปทำงานในแต่ละวันมันไม่มีแรงจะลุกเลย

5. ขาดสมาธิมีความเหม่อลอยระหว่างวัน หรือสมาธิหลุดไปทำอย่างอื่นแทนการทำงาน

6. งานผิดพลาดบ่อยแก้ไขเยอะกว่าแต่ก่อนมาก ๆ อาจเป็นเพราะใจคุณเริ่มไม่โอเคกับงานที่ทำอยู่แล้ว

7. ขาด ลา มาสาย หายบ่อย เพื่อออกไปหาความสุขที่ดีกว่าการมาทำงาน

8. หงุดหงิดง่ายมีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ หลุดบ่อยจนเห็นได้ชัดเลยว่าไม่สามารถเก็บความรู้สึกได้เลย

9. มีปัญหาการนอนไม่ว่าจะเป็นการนอนน้อย นอนมาก ฝันบ่อย แปลว่าเราเริ่มมีปัญหากับจิตใจแล้ว

10. มีปัญหาการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป ทานน้อยลง ทานมากขึ้น หรือไม่ทานข้าวเลยก็เป็นได้


อย่ามองข้ามว่าเป็นปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ นะทุกคน เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะ จาก "ภาวะซึมเศร้าจากการทำงาน" จะกลายเป็น "โรคซึมเศร้า" ไปเลยก็ได้นะ เพราะฉะนั้นต้องมั่นเช็กสุขภาพใจของตัวเองให้ดี ถ้ารู้สึกงานที่ทำอยู่มันแย่ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ ก็ลองปรับเปลี่ยนงานที่ใหม่ดู หรือเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เราจะได้กายเป็นมนุษย์ออฟฟิศผู้แข็งแกร่งไม่กลัวอะไรทั้งนั้น!

.

.

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://chulalongkornhospital.go.th

https://ooca.co/blog/depression-in-workplace/

https://www.istrong.co/single-post/10-signal-work-related-depression

https://www.pobpad.com

https://www.rama.mahidol.ac.th

แชร์ :
Logo